การใช้ภาษาในสื่อออนไลน์
รูปแบบการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่น
การใช้ภาษาเป็นเรื่องของการสื่อสาร ซึ่งผู้ส่งสารจะต้องทำให้ผู้รับสารเข้าใจความหมายของตนให้มากที่สุด แต่การสื่อสารที่มีรูปแบบแตกต่างกัน จะทำให้การใช้ภาษามีความแตกต่างกันไปด้วย เช่น การสื่อสารแบบเผชิญหน้าย่อมแตกต่างจากการสื่อสารแบบผ่านเครื่องมือการสื่อสารหรือการสื่อสารด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ ย่อมมีความแตกต่างการสื่อสารด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีทั้งภาพ และเสียง ในปัจจุบันปัญหาที่พบเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย คือการใช้ภาษาในทางวิบัติและมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ภาษาอยู่หลายประเภท เช่น
รูปแบบการพูด เป็นประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้เวลาพูดกันซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียนด้วยแต่น้อยกว่ากลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียนโดยการพูดมักจะพูดให้มีเสียงสั้นลงหรือยาวขึ้นหรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลยประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างว่ากลุ่มเพี้ยนเสียง
รูปแบบการเขียน รูปแบบของภาษาวิบัติประเภทนี้ โดยทั้งหมดจะเป็นคำพ้องเสียงที่นำมาใช้ผิด
หลักของภาษาคนที่ใช้ภาษาวิบัติเวลาเขียนนั้นจะเขียนตามเสียงอ่าน เพราะไม่ต้องการอยู่ในกรอบหรือ ต้องการทำอะไรที่คิดว่าใหม่ ไม่เลียนแบบของเก่า ได้แก่
๑. การเขียนตามเสียงพูด
๒. การสร้างรูปการเขียนใหม่
๓. รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงเสียงอ่าน
๔. กลุ่มที่เปลี่ยนแปลงความหมาย
คำและคำสแลง
คำ อาจเปรียบได้กับสิ่งมีชีวิตทั้งหลายคือมีเกิดดำรงอยู่แล้วก็ตายไปคำจำนวนไม่น้อยที่ เคยใช้กันมาแต่โบราณปัจจุบันได้สูญไปจากภาษา มีคำใหม่เกิดขึ้นคำใหม่ที่เกิดขึ้นนี้บางคำเพียงแต่ใช้พูดกันเฉพาะกลุ่ม เฉพาะโอกาส และอาจเสื่อมความนิยมไปมีผู้เรียกคำ เช่นนี้ว่า คำ คะนอง บางคำใช้เรียกสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคม สิ่งใหม่เหล่านี้อาจเป็นวัตถุสิ่งของความคิดกิจกรรมหรือเหตุการณ์ต่างๆ คำ เช่นนี้เกิดขึ้นด้วยความจำเป็นและติดอยู่ในภาษามักไม่เสื่อมความนิยม (กระทรวงศึกษาธิการ,๒๕๕๐)
บุญ ยงค์เกศเทศ กล่าวว่า คำสแลงเกิดขึ้น ชั่วครั้งชั่วคราวเป็นภาษาพูดที่นิยมกันใน
บางหมู่คณะบางกรณีก็ต้องพูดเพื่อให้ออกรสจึงพยายามสร้างรูปภาษาให้แปลกออกไปคำสแลง
มักไม่ติดอยู่ในภาษานานนัก เมื่อคำหนึ่งหายตายไปก็มักนิยมคำใหม่ขึ้นแทนคำสแลงนั้นมีใช้กัน
มาทุก ยุค ทุก สมัย เช่น มันส์เติ้ลหย่อย สะเหล่อ ยากส์ซ่าส์ฟฟู่ เก่าก๊ึกก์เซ็งระเบิด
สมโรจน์สวัสดิกุล ณ อยธุยา เรียกคำสแลงว่า “คำคะนอง” และกล่าวว่า คำสแลงเป็น
ภาษาปาก เป็นภาษาไม่เป็นแบบแผน แต่ไม่ใช่คำต่ำ หรือ คำหยาม เป็นคำพิเศษเฉพาะกลุ่มที่
สร้างขึ้นเพื่อให้มีคำแปลกๆสร้างความสนุกสนาน ระดับคำมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลสมัย
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่น
การใช้ภาษาไทยที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตนั้นเริ่มลุกลามมาจากโปรแกรมแช็ทรูมและเกมออนไลน์ซึ่งดูคล้ายเป็นการสนทนากันธรรมดาแต่เมื่อได้เข้าไปสัมผัสแล้วมิใช่เลยการสนทนาอันไม่มีขีดจำกัดของภาษาทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย ดังเช่นที่พบตามหน้าหนังสือพิมพ์ในปัจจุบันและในขณะเดียวกันก็สร้างปัญหาให้แก่วงการภาษาไทยด้วย นั่นคือการกร่อนคำและการสร้างคำใหม่ให้มีความหมายแปลกไปจากเดิมหรืออย่างที่เรียกว่าภาษาเด็กแนวนั่นเองวัยรุ่น เป็นช่วงวัยที่มีการสื่อสารกันมากและมีรูปแบบการสื่อสารด้วยคำที่ทันสมัยมีความหมายเฉพาะสำหรับกลุ่มและช่วงวัยวัยรุ่นจึงขาดความคำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสมของภาษาที่ใช้ให้เหมาะสมมีหลายสาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นใช้ภาษาที่ผิดๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมากทำให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งการสื่อสารวัยรุ่นในประเทศไทยยุคใหม่บางกลุ่มได้สร้างค่านิยมที่ผิดๆ มาใช้ คือ การใช้ภาษาไทยที่ผิดจากคำเดิมจึงทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนแปลงไป เยาวชนยุคหลัง ๆ จึงใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องสื่อมวลชน ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการใช้ภาษาไทยแบบผิดๆของประชาชนเพราะสื่อมวลชนเป็นผู้ที่ให้ข้อมูล ข่าวสารกับประชาชนทุกวัน สื่อมวลชนต้องเป็นผู้นำที่ดีที่สุดของการใช้ภาษาและต้องให้ข้อคิดอยู่เสมอว่า ภาษานั้นสะท้อนความเป็นตัวของเราเอง ถ้าใช้ภาษาดี ภาษาที่ถูกต้อง ภาษาที่นำสังคมไปในทางสร้างสรรค์สร้างความสามัคคีสร้างความรักสร้างความภูมิใจในชาติจะทำให้ทุกคนเห็นคล้อยตาม แต่ถ้าหากว่าสื่อมวลชนนำภาษาที่ประหลาด ภาษาที่ไม่ถูกต้องเอามาเผยแพร่บ่อยๆ คนจะคิดว่าสิ่งที่สื่อมวลขนมาเผยแพร่นั้นถูกต้อง เป็นสิ่งที่ดี มันจะทำลายภาษาไทย โดยเฉพาะการใช้ภาษาในข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ต่างๆ เป็นต้น
การใช้ภาษาเป็นเรื่องของการสื่อสาร ซึ่งผู้ส่งสารจะต้องทำให้ผู้รับสารเข้าใจความหมายของตนให้มากที่สุด แต่การสื่อสารที่มีรูปแบบแตกต่างกัน จะทำให้การใช้ภาษามีความแตกต่างกันไปด้วย เช่น การสื่อสารแบบเผชิญหน้าย่อมแตกต่างจากการสื่อสารแบบผ่านเครื่องมือการสื่อสารหรือการสื่อสารด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ ย่อมมีความแตกต่างการสื่อสารด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีทั้งภาพ และเสียง ในปัจจุบันปัญหาที่พบเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย คือการใช้ภาษาในทางวิบัติและมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ภาษาอยู่หลายประเภท เช่น
รูปแบบการพูด เป็นประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้เวลาพูดกันซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียนด้วยแต่น้อยกว่ากลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียนโดยการพูดมักจะพูดให้มีเสียงสั้นลงหรือยาวขึ้นหรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลยประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างว่ากลุ่มเพี้ยนเสียง
รูปแบบการเขียน รูปแบบของภาษาวิบัติประเภทนี้ โดยทั้งหมดจะเป็นคำพ้องเสียงที่นำมาใช้ผิด
หลักของภาษาคนที่ใช้ภาษาวิบัติเวลาเขียนนั้นจะเขียนตามเสียงอ่าน เพราะไม่ต้องการอยู่ในกรอบหรือ ต้องการทำอะไรที่คิดว่าใหม่ ไม่เลียนแบบของเก่า ได้แก่
๑. การเขียนตามเสียงพูด
๒. การสร้างรูปการเขียนใหม่
๓. รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงเสียงอ่าน
๔. กลุ่มที่เปลี่ยนแปลงความหมาย
คำและคำสแลง
คำ อาจเปรียบได้กับสิ่งมีชีวิตทั้งหลายคือมีเกิดดำรงอยู่แล้วก็ตายไปคำจำนวนไม่น้อยที่ เคยใช้กันมาแต่โบราณปัจจุบันได้สูญไปจากภาษา มีคำใหม่เกิดขึ้นคำใหม่ที่เกิดขึ้นนี้บางคำเพียงแต่ใช้พูดกันเฉพาะกลุ่ม เฉพาะโอกาส และอาจเสื่อมความนิยมไปมีผู้เรียกคำ เช่นนี้ว่า คำ คะนอง บางคำใช้เรียกสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคม สิ่งใหม่เหล่านี้อาจเป็นวัตถุสิ่งของความคิดกิจกรรมหรือเหตุการณ์ต่างๆ คำ เช่นนี้เกิดขึ้นด้วยความจำเป็นและติดอยู่ในภาษามักไม่เสื่อมความนิยม (กระทรวงศึกษาธิการ,๒๕๕๐)
บุญ ยงค์เกศเทศ กล่าวว่า คำสแลงเกิดขึ้น ชั่วครั้งชั่วคราวเป็นภาษาพูดที่นิยมกันใน
บางหมู่คณะบางกรณีก็ต้องพูดเพื่อให้ออกรสจึงพยายามสร้างรูปภาษาให้แปลกออกไปคำสแลง
มักไม่ติดอยู่ในภาษานานนัก เมื่อคำหนึ่งหายตายไปก็มักนิยมคำใหม่ขึ้นแทนคำสแลงนั้นมีใช้กัน
มาทุก ยุค ทุก สมัย เช่น มันส์เติ้ลหย่อย สะเหล่อ ยากส์ซ่าส์ฟฟู่ เก่าก๊ึกก์เซ็งระเบิด
สมโรจน์สวัสดิกุล ณ อยธุยา เรียกคำสแลงว่า “คำคะนอง” และกล่าวว่า คำสแลงเป็น
ภาษาปาก เป็นภาษาไม่เป็นแบบแผน แต่ไม่ใช่คำต่ำ หรือ คำหยาม เป็นคำพิเศษเฉพาะกลุ่มที่
สร้างขึ้นเพื่อให้มีคำแปลกๆสร้างความสนุกสนาน ระดับคำมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลสมัย
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่น
การใช้ภาษาไทยที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตนั้นเริ่มลุกลามมาจากโปรแกรมแช็ทรูมและเกมออนไลน์ซึ่งดูคล้ายเป็นการสนทนากันธรรมดาแต่เมื่อได้เข้าไปสัมผัสแล้วมิใช่เลยการสนทนาอันไม่มีขีดจำกัดของภาษาทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย ดังเช่นที่พบตามหน้าหนังสือพิมพ์ในปัจจุบันและในขณะเดียวกันก็สร้างปัญหาให้แก่วงการภาษาไทยด้วย นั่นคือการกร่อนคำและการสร้างคำใหม่ให้มีความหมายแปลกไปจากเดิมหรืออย่างที่เรียกว่าภาษาเด็กแนวนั่นเองวัยรุ่น เป็นช่วงวัยที่มีการสื่อสารกันมากและมีรูปแบบการสื่อสารด้วยคำที่ทันสมัยมีความหมายเฉพาะสำหรับกลุ่มและช่วงวัยวัยรุ่นจึงขาดความคำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสมของภาษาที่ใช้ให้เหมาะสมมีหลายสาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นใช้ภาษาที่ผิดๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมากทำให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งการสื่อสารวัยรุ่นในประเทศไทยยุคใหม่บางกลุ่มได้สร้างค่านิยมที่ผิดๆ มาใช้ คือ การใช้ภาษาไทยที่ผิดจากคำเดิมจึงทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนแปลงไป เยาวชนยุคหลัง ๆ จึงใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องสื่อมวลชน ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการใช้ภาษาไทยแบบผิดๆของประชาชนเพราะสื่อมวลชนเป็นผู้ที่ให้ข้อมูล ข่าวสารกับประชาชนทุกวัน สื่อมวลชนต้องเป็นผู้นำที่ดีที่สุดของการใช้ภาษาและต้องให้ข้อคิดอยู่เสมอว่า ภาษานั้นสะท้อนความเป็นตัวของเราเอง ถ้าใช้ภาษาดี ภาษาที่ถูกต้อง ภาษาที่นำสังคมไปในทางสร้างสรรค์สร้างความสามัคคีสร้างความรักสร้างความภูมิใจในชาติจะทำให้ทุกคนเห็นคล้อยตาม แต่ถ้าหากว่าสื่อมวลชนนำภาษาที่ประหลาด ภาษาที่ไม่ถูกต้องเอามาเผยแพร่บ่อยๆ คนจะคิดว่าสิ่งที่สื่อมวลขนมาเผยแพร่นั้นถูกต้อง เป็นสิ่งที่ดี มันจะทำลายภาษาไทย โดยเฉพาะการใช้ภาษาในข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ต่างๆ เป็นต้น